คำศัพท์ช่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนมีที่มาที่ไปยาวนาน และมักจะเป็นคำที่สื่อถึงความหมายในการใช้งาน ผสมผสานกับการเปรียบเทียบรูปร่างที่เหมือนสิ่งต่างๆตามธรรมชาติ
ดังเช่น“ลวดบัว” หรือ “บัว” ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเติมเต็มความงดงามให้กับงานสถาปัตยกรรมที่มีมาช้านาน
แต่ทำไมจึงถูกเรียกว่า “บัว” หรือ “ลวดบัว”
เราจะมาบอกคำตอบให้คุณได้ทราบกัน
แต่โบราณนานมา สถาปัตยกรรมไทยนับว่ามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว เพราะมีวิวัฒนาการยาวนานนับพันปี อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นพลังให้ช่างไทยสร้างสรรค์ศิลปะในทุกแขนงได้อย่างวิจิตรงดงามจวบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะศิลปะทางด้านงานสถาปัตยกรรม
เจดีย์ คือสิ่งก่อสร้างทรงสูงที่สร้างไว้เพื่อเป็นที่สักการะและระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยมีให้เห็นอยู่ทั่วไปในดินแดนที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่ถึง หากคุณสังเกตเจดีย์จะเห็นว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีฐานเป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้เพื่อต้องการยกระดับความสำคัญ และทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของสิ่งก่อสร้างนั้น
หากมองให้ลึกลงในรายละเอียดส่วนฐานของเจดีย์ หรือแม้แต่ฐานพระพุทธรูป ก็มักถูกสร้างเป็นวงกลมมีลักษณะคล้ายดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ตามคติทางพุทธศาสนาที่ต้องการสื่อถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และเพื่อให้ฐานเห็นเป็นรูปทรงดอกบัวได้ชัดเจนมากขึ้น ช่างไทยโบราณจึงเพิ่ม “ลวดบัว” เส้นคาดรอบฐานสร้างให้เกิดมิติ เพื่อเน้นสัดส่วนให้เห็นชัดว่าเป็นบัวคว่ำหรือบัวหงาย เปรียบเทียบดังภาพที่ปรากฏ
มาถึงตรงนี้คุณคงทราบที่มา และเข้าใจเส้นทางของ “บัว” ประดับอาคารจากอดีตสู่ปัจจุบัน ที่ไม่ใช่แค่เพียงเผยให้เห็นถึงความสวยงามเท่านั้น ยิ่งกล่าวถึงบัวที่ผลิตด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีการผสานวัสดุที่มีคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวที่เสริมกัน ยิ่งต้องผ่านการคิดค้น พัฒนา และวิจัย โดยนักออกแบบที่ทำงานร่วมกับวิศวกรเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยหรือผู้ที่ใช้งานจริงได้ดีมากยิ่งขึ้น
เราจึงกล้าท้าว่า เราเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศที่รู้จริงเรื่อง “บัว” โฟม ด้วยการสั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์ผลิตนวัตกรรมเทคโนโลยีงานก่อสร้างที่ผสานวัสดุโฟมมานานกว่าครึ่งศตวรรษ
มาร่วมเติมความงามสถาปัตยกรรมผ่าน “บัวโฟม” กันครับ